ไพล สุดยอดสมุนไพร หลากหลายสรรพคุณ

ไพล สมุนไพรแก้ปวด

ไพล หรือ ว่านไพล สุดยอดสมุนไพรที่อยู่ในตารายาไทยมาแต่โบราณ และยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน ด้วยเพราะสรรพคุณทางยาที่มีมากมาย ซึ่งได้ถูกยอมรับทั้งในระดับประเทศและสากล

 

ไพลสด

 

ไพลมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ว่านปอบ (ภาคอีสาน) เป็นต้น
ลักษณะต้นไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าสดฉ่ำน้ำ รสฝาด ขื่น เอียน ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ เหง้าไพลแก่สด และแห้ง มีรสเผ็ดเล็กน้อย

ผงไพล

 

สรรพคุณในตำรายาไทย : แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง ลดอาการอักเสบ บวม เส้นตึง รักษาอาการปวดเมื่อย เมื่อยขบ เหน็บชา ขับลมในลำไส้ ขับระดู ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ช่วยสมานแผลในลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง บิดเป็นมูกเลือด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องผูก แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน เป็นยารักษา แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี และใช้ในการป้องกันแมลง

น้ำมันไพล

 

สรรพคุณจากการศึกษาทางเภสัชวิทยา:
จากการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่าสารสกัดจาก ไพล มีสรรพคุณทางยาที่หลากหลายเช่น

  • ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
  • ฤทธิ์แก้ปวด
  • ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
  • ฤทธิ์ต้านการแพ้
  • ฤทธิ์คลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อเรียบอื่นๆ
  • ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย
  • ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

องค์ประกอบทางเคมี:
น้ำมันระเหยง่าย มีสารสำคัญที่เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ terpinen-4-ol, sabinene, caryophyllene, cineol, alpha-pinene, beta-pinene, myrcene, terpinene, limonene, p-cymene, terpinolene, eugenol, farneraol, alflabene, 3,4 dimethoxy benzaldehyde
สารสีเหลือง curcumin, cassumunarins A, B, C
สารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ หลายชนิด เช่น (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และสารอื่นๆ ได้แก่ 4-(4-hydroxyl-1-butenyl)-veratrole, naphthoquinone derivative, vanillin, vanillic acid, veratric acid, β-sitosterol

ด้วยสรรพคุณที่หลากหลายนี้เองจึงทำให้มียาและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมาโดยมีส่วนไพลเป็นส่วนประกอบ
เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการรักษาและบรรเทาอาการต่าง ๆ ซึ่งที่พบเห็นกันคุ้นตาก็จะเป็น ลูกประคบ, ยาหม่อง, น้ำมันนวด, ยาแคปซูล, อาหารเสริม ฯลฯ

น้ำมันเหลือง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *